
ศัลยกรรมเสริมสะโพก/เสริมก้น
การเสริมก้น/สะโพกเหมาะกับใคร ?
- ก้นเล็กตั้งแต่กำเนิด ลีบ แฟ่บ เหมือนผู้ชาย ต้องการใส่กางเกงรัดรูป หรือบิกินี่ให้ดูเข้ารูปมากขึ้น
- กลุ่มที่รูปร่างทื่อ และเคยเสริมหน้าอกแล้ว ถ้าเสริมก้นไปอีก จะทำให้ดูมีสัดส่วนและดูเซ็กซี่มากขึ้น
- ลดน้ำหนักมากเกินไป มีการยกกระชับ อาจต้องเสริมก้นเพิ่มด้วย
- แก้ปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
- สาวสอง ซึ่งปกติผู้ชายไม่มีสะโพก การเสริมสะโพกจึงเป็นตัวเลือกที่ดี
- กลุ่มผู้หญิงที่สามีเป็นคนต่างชาติ และนิยมสะโพกใหญ่
- ไม่ต้องการใส่กางเกงในเสริมก้น อยากใส่กางเกงรัดรูป โชว์สะโพกได้อย่างมั่นใจ
การเสริมสะโพกสามารถทำได้ 3 วิธี
- เสริมโดยฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์
การเสริมสะโพกด้วยการฉีดฟิลเลอร์บริเวณสะโพกอาจต้องใช้ปริมาณมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย และเมื่อระยะเวลาผ่านไปฟิลเลอร์ก็จะสลายไป ทำให้ต้องฉีดใหม่อีก
- เสริมด้วยการฉีดไขมัน
เสริมสะโพกวิธีนี้จะเป็นการนำไขมันในร่างกายจากส่วนอื่นมาฉีดที่สะโพก มีข้อดีตรงที่เป็นไขมันของเรา ไม่มีอันตราย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ไขมันที่ฉีดเข้าไปจะสลายตัวคล้ายๆ กับการฉีดฟิลเลอร์
- เสริมด้วยซิลิโคน
ซิลิโคนเป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเสริมหน้าอก แต่มีลักษณะและรูปร่างไม่เหมือนกัน แพทย์มักจะแนะนำวิธีนี้ในการเสริมสะโพก เพราะให้ผลลัพธ์ถาวร มีความปลอดภัยสูงและได้รับความนิยมมากที่สุด
รูปทรงของถุงซิลิโคน
ถุงซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพก ภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนเจลเท่านั้น ไม่มีการใช้ถุงน้ำเกลือ เนื่องจากโอกาสที่ถุงน้ำเกลือจะรั่วมีมากกว่าถุงเจล เพราะการเสริมสะโพกเป็นการใส่ถุงในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเครื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านม เจลที่บรรจุในถุงซิลิโคนเป็นเจลที่มีความหนาแน่นมาก (High Cohesive gel)
รูปร่างของถุงซิลิโคนสะโพกจะแบนและกว้างกว่าถุงเต้านม มี 2 แบบ คือ ทรงกลมและทรงวงรี
ทรงกลม
มีรูปร่างกลมแต่จะแบนกว่าถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมเต้านม ใช้สำหรับเสริมสะโพกด้านใน ทรงกลมใส่ง่ายกว่าทรงวงรีและไม่มีโอกาสเคลื่อนตัว หมุนอย่างไรก็ไม่เป็นไร ช่วยให้วางตำแหน่งได้ง่าย แต่มีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถเน้นการเสริมเฉพาะจุดได้
ถุงทรงวงรีหรือทรงหยดน้ำ
เหมาะสำหรับเน้นบางจุดเพราะสามารถหมุนได้ทุกทิศทาง ถ้าคนไข้ต้องการเสริมสะโพกเฉพาะด้านนอก ไม่ต้องการเน้นด้านใน กรณีนี้ต้องใช้ทรงหยดน้ำ เพราะมีให้เลือกทั้งขั้วเล็ก ขั้วใหญ่ ในขณะที่ทรงกลมไม่มีขั้ว ทุกด้านเท่ากันหมด จึงมีจุดเด่นตรงที่สามารถเน้นตำแหน่งที่ต้องการได้ แต่ข้อเสียคือ การผ่าตัดยุ่งยาก ซับซ้อนกว่าทรงกลม ศัลยแพทย์จะต้องมีความชำนาญและแม่นยำมาก



ตำแหน่งการวางถุงซิลิโคน

ใต้ผิวหนัง
เป็นการวางถุงซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ มีข้อดีคือสะโพกจะนูนสวยอย่างชัดเจนและไม่มีโอกาสเกิดอันตรายกับเส้นประสาทใหญ่ แต่มีข้อเสียตรงที่อาจเห็นรูปร่างของถุงซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้วและมีโอกาสเกิดการทะลุของถุงซิลิโคนในคนไข้บางรายได้
ใต้กล้ามเนื้อหรือระหว่างกล้ามเนื้อ
โดยทั่วไปการเสริมสะโพกขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อของสะโพก กล้ามเนื้อสะโพกมัดบนและมัดล่างอาจไม่สามารถแบ่งออกได้ชัดเจน ดังนั้นการใส่ถุงซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อสะโพกทั้งสองมัด สามารถทำได้ในคนไข้บางรายเท่านั้น การจะเปิดช่องระหว่างกล้ามเนื้อสะโพก 2 มัด และการใส่ถุงใต้กล้ามเนื้อสะโพกมัดใหญ่มักได้ผลเช่นเดียวกับการเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อ จะมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดใต้ผิวหนัง แต่โอกาสที่ซิลิจะทะลุมีน้อย การเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อต้องใช้ความชำนาญและต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่ที่ขา ถือเป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน
ระดับใต้พังผืดกล้ามเนื้อ
บางครั้งการเสริมสะโพกใต้กล้ามเนื้ออาจทำให้รูปร่างและสะโพกไม่เด่นชัด การเสริมในระดับใต้ผิวหนังก็มีปัญหาเรื่องอาจมองเห็นขอบถุงซิลิโคนและมีโอกาสทะลุ ศัลยแพทย์บางท่านจึงผ่าตัดโดยการเปิดช่องใต้พังผืดกล้ามเนื้อ วิธีนี้มีข้อดีคือไม่มีโอกาสเกิดอันตรายกับเส้นประสาทและสามารถเห็นส่วนนูนของสะโพกได้ชัดเจน สามารถเสริมด้านข้างได้ แต่ยังมีปัญหาในเรื่องเทคนิคในการผ่าตัดอยู่
เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
- งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ กระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
- งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
- ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
- เตรียมลางาน 10-15 วัน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
- ถ้ามีบาดแผลบริเวณแขน ข้อศอก หัวเข่า หน้าอก หรือหน้าท้องควรงดผ่าตัดไปก่อน
- การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้
- ควรมีผู้ดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด
- งดสูบบุหรี่ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

- คนไข้ดมยาสลบแล้วนอนคว่ำ
- แพทย์จะเปิดแผลที่กึ่งกลางสะโพกบริเวณด้านหลังประมาณ 5 – 7 ซ.ม.
- เปิดช่องว่างในกล้ามเนื้อสะโพกให้มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับถุงซิลิโคน
- ใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปตามตำแหน่งที่ต้องการ
- ใส่สายระบายน้ำเหลือง
- เย็บปิดกล้ามเนื้อและชั้นใต้ผิวหนัง
- ถ้าต้องดูดไขมันหรือฉีดไขมันร่วมด้วย จะทำหลังเย็บแผลเรียบร้อยแล้ว
- ในบางรายที่สะโพกมีการคล้อยมากอาจต้องทำการยกกระชับร่วมด้วย หรือในบางคนที่มีผิวหนังย้อยที่ขอบล่างของก้น อาจต้องตัดผิวหนังส่วนเกินออกแล้วค่อยเย็บปิดแผล
- ปิดแผลด้วยผ้ายืดปิดแผล ในกรณีที่มีการดูดไขมันอาจต้องใส่ชุดสำหรับการดูดไขมัน แผลที่เย็บจะอยู่ในง่ามก้น ยากแก่การสังเกตเห็น
- หลังการผ่าตัดเสริมสะโพกมักต้องใส่สายสวนปัสสาวะ จะได้ไม่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำ


การดูแลหลังผ่าตัด
- คนไข้ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 2 คืน เพื่อใส่ท่อระบายเลือดและสังเกตอาการโดยรวม
- . สัปดาห์แรกควรพักผ่อนมากๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา โดยทั่วไป ในวันที่ 4 สามารถเดินหรือนั่งอย่างช้าๆ โดยอาจรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้าง
- นอนคว่ำในสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ห้ามนอนหงายเพราะจะเป็นการกดทับถุงซิลิโคน
- หลังจากเปิดแผล ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
- เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3
- อย่าให้พลาสเตอร์เปียกน้ำ
- สัปดาห์ที่สองสามารถนั่งบนเบาะนิ่มๆ ได้
- หลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- อาการปวดบริเวณสะโพกอาจเกิดขึ้นได้ใน 1 – 3 เดือนแรก
- จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพกภายใน 6 – 8 เดือน
- ใส่กางเกงรัดไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กางเกงนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมตำแหน่งซิลิโคนไม่ให้เคลื่อนที่
ศัลยกรรมกับเลอลักษณ์ดีอย่างไร
- แพทย์ทุกท่านของโรงพยาบาลเป็นศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง และเป็นสมาชิกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย (ThSAPS) แพทย์เฉพาะทางจะต้องเรียนหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปี ต่อด้วยศัลยศาสตร์ทั่วไป 3 ปี และศัลยศาสตร์ตกแต่งอีก 3 ปี รวมเป็น 12 ปี และยังมีประสบการณ์การผ่าตัดศัลยกรรม 10 ปีขึ้นไปทุกท่าน ดังนั้นจึงสามารถมั่นใจได้ว่า แพทย์ของเรามีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือแน่นอน
- โรงพยาบาลได้มาตรฐาน เครื่องมือแพทย์ครบครัน ห้องผ่าตัดปลอดเชื้อด้วยระบบกรองอากาศ HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air Filter) เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นละอองที่มีอนุภาคขนาดเล็กและเชื้อโรคต่างๆ ได้ 99.99% และระบบ Oxygen Pipeline หรือออกซิเจนช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน รวมถึงมีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง
- เทคนิค Beauty Dream เอกสิทธิ์จากโรงพยาบาลเลอลักษณ์ ที่ทำให้คุณไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด
- รับประกันงานศัลยกรรมภายใน 6 เดือนหลังจากทำ เพื่อให้ทุกการเสริมสะโพกคุ้มค่ากับราคา เราจึงดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้คุณได้รับบริการที่ดีที่สุดจากเรา






