ศัลยกรรมเสริมสะโพก
หรือ เสริมก้น
ศัลยกรรมเสริมสะโพก หรือ เสริมก้น

การผ่าตัดเสริมสะโพก เป็นการปรับสรีระรูปร่างให้เห็นส่วนโค้ง ส่วนเว้าของเอว  สะโพก และต้นขา เด่นชัดขึ้น รูปร่างจะสวยดูดี เป็น S-curve สร้างรูปร่างสะโพกที่สวยน่าดึงดูดใจ เสริมความมั่นใจ และเสริมบุคลิกภาพในการแต่งตัว ถ้าสะโพกมีลักษณะแบนหรือหย่อนยานจะทำให้ช่วงขาดูสั้นลงและครึ่งล่างดูไม่สวยงาม แม้บางคนจะออกกำลังกายโดยการสคว๊อทอย่างหนักอย่างไร แต่ก้นก็ยังแบน และสะโพกไม่ผาย สำหรับคนที่มีรูปร่างผอมบางแต่ไม่มีสะโพก ก็จะแลดูตรง ไม่เซ็กซี่ แต่เมื่อเสริมสะโพกแล้วจะทำให้ดูมีเอว และเซ็กซี่มากขึ้น จะทำให้ทรวดทรงดูมีมิติ และสมส่วน สวยทั้ง 360 องศา 

เสริมสะโพก เหมาะกับใคร?
  1. ผู้ที่มีสะโพกบุบ เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วดูหุ่นตรง จะแลดูไม่มีทรวดทรง
  2. ผู้ที่มีก้นเล็ก ลีบ แฟ่บ แม้จะสคว๊อทอย่างไรก้นก็ไม่ขึ้น มองด้านข้างแล้วดูตรง ทำให้ไม่กล้าใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือชุดเดรส ซึ่งจะเน้นรูปร่าง
  3. ผู้ที่เคยเสริมหน้าอกแล้วหากด้านล่างลำตัวดูตรงจะทำให้ไม่สมส่วน ถ้าเสริมสะโพกไปอีก จะทำให้ดูมีสัดส่วนและดูเซ็กซี่มากขึ้น
  4. ผู้ที่มีปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
"เสริมสะโพก" เทคนิคพิเศษเฉพาะที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์

“เสริมสะโพก” เทคนิคเฉพาะของโรงพยาบาลเลอลักษณ์ โดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางระดับอาจารย์ ผลลัพธ์จะได้แผลที่เล็ก เจ็บน้อย หายเร็ว เป็นธรรมชาติ

เทคนิคของโรงพยาบาลเลอลักษณ์ ศัลยแพทย์จะเปิดแผลเพียงตำแหน่งเดียว บริเวณร่องก้น ตรงกลางระหว่างก้นสองข้าง แผลมีขนาดเล็ก ประมาณ 3-4 เซนติเมตรเท่านั้น สามารถซ่อนแผลได้ดี ดูกลมกลืนไปกับร่องก้น โดยใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปในชั้นใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่แพทย์แนะนำเพราะจะได้ผลลัพธ์ที่ดูเป็นธรรมชาติ คลำขอบไม่ได้ เพราะมีชั้นกล้ามเนื้อ ไขมัน และผิวหนังคลุมอยู่

แต่หากทำที่อื่นบางแห่งจะเปิดแผล 2 แผล ด้านข้างก้น มองเห็นได้ง่าย และใส่ซิลิโคนในชั้นตื้น หรือชั้นเหนือกล้ามเนื้อ ทำให้เห็นซิลิโคนเป็นก้อน นูน ผิดรูป ก้นแข็ง ซิลิโคนขยับเคลื่อนไปมา หรือซิลิโคนพลิกได้ ก้นดูไม่เนียน ไม่เป็นธรรมชาติ และหากแพทย์ไม่มีประสบการณ์มากพอ อาจผ่าตัดโดนเส้นประสาททำให้เกิดอาการชาบริเวณขาได้

ก่อนทำหัตถการ แพทย์จะทำการตรวจวิเคราะห์ตามโครงสร้างของแต่ละคน เพื่อประเมินตำแหน่งในการวางถุงซิลิโคน โดยหากมีเนื้อก้นมากอยู่แล้ว แต่ต้องการสะโพกที่ผาย ก็จะวางตำแหน่งซิลิโคนค่อนออกทางด้านข้าง หากคนไข้มีสะโพกผายอยู่แล้ว แต่ต้องการก้นที่มีความนูนด้านหลัง ก็จะวางซิลิโคนค่อนมาตรงกลาง

นอกจากนี้ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์ยังสามารถเลือกใช้เทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้อง Endoscope มาใช้  ซึ่งเป็นกล้องที่ทันสมัยจากประเทศเยอรมัน เพื่อช่วยในการวางตำแหน่งถุงซิลิโคนให้ได้ตำแหน่งมากที่สุด และช่วยลดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและเส้นประสาท เลือดออกน้อยลง ช่วยลดโอกาสการเกิดสะโพกแข็งในอนาคตได้

ซิลิโคนในการเสริมสะโพก

การเสริมสะโพก (เสริมก้น) จะใช้ถุงซิลิโคนเช่นเดียวกันกับการเสริมหน้าอก แต่จะแตกต่างกันที่ การเสริมสะโพกจะใช้ถุงซิลิโคนที่ผลิตมาใช้เฉพาะเสริมสะโพกเท่านั้น ซึ่งมีความแข็งแรงและเหนียว ผิวของถุงซิลิโคนจะหนากว่า มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน ก็จะไม่เสียรูปทรง ไม่แตกแน่นอน สำหรับซิลิโคนที่ใช้เสริมสะโพกมี 2 รูปทรงคือ ทรงกลม (Round) และทรงหยดน้ำหรือทรงอนาโตมี่ (Anatomy)

ถุงซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพกที่ใช้ ภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนเจลที่มีความหนาแน่นมาก (highly cohesive gel)  ไม่มีการผลิตแบบถุงน้ำเกลือ เนื่องจากโอกาสที่ถุงน้ำเกลือจะรั่วมีมากกว่าถุงเจล เพราะการเสริมสะโพกเป็นการใส่ซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านม

ซิลิโคนทรงกลม

ข้อดี : ทรงกลมสามารถวางตำแหน่งในการใส่ได้ง่าย

ข้อเสีย : ไม่สามารถเน้นการเสริมเฉพาะจุดได้

เหมาะกับใคร : ทรงกลมเหมาะสำหรับผู้ที่ก้นแบนมาก เมื่อเสริมซิลิโคนทรงกลมเข้าไปแล้ว จะได้ก้นที่เด้ง มีความนูนชัดเจนบริเวณกึ่งกลางก้น

ซิลิโคนทรงอนาโตมี่ (ทรงหยดน้ำ)

ข้อดี : สามารถเน้นตำแหน่งที่ต้องการได้ 

ข้อเสีย : อาศัยความชำนาญของแพทย์มากกว่า เพราะหากวางตำแหน่งไม่ดี หรือแพทย์ไม่มีประสบการณ์ อาจวางตำแหน่งซิลิโคนไม่เหมาะสม และเกิดการเคลื่อนของซิลิโคนได้

เหมาะกับใคร : เหมาะสำหรับผู้ที่พอมีก้นอยู่บ้าง แต่ต้องการเน้นบางจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีปัญหาสะโพกด้านข้างบุบ สามารถใส่ซิลิโคนทรงอนาโตมี่ให้เน้นเสริมบริเวณสะโพกด้านข้าง ให้สะโพกผายออกได้ ได้สะโพกที่ดูกลมกลืนไปกับเนื้อสะโพกเดิม มีความ slope เน้นความเป็นธรรมชาติ

ตำแหน่งการวางถุงซิลิโคน
  1. ใต้ผิวหนัง เป็นการวางถุงซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากซิลิโคนมักจะเคลื่อนที่ง่าย ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย และอาจเห็นขอบของถุงซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้ว และมีโอกาสเกิดการทะลุของถุงซิลิโคนในคนไข้บางรายได้
  2. ใต้กล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ ซิลิโคนไม่เคลื่อนที่ โอกาสในการที่จะเห็นขอบถุงซิลิโคนมีน้อย แต่เป็นเทคนิคที่ต้องใช้ความชำนาญของศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทางและต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่ที่ขา
ผ่าตัดอย่างปลอดภัยและได้มาตรฐาน ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์

โรงพยาบาลเลอลักษณ์ทำผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง มีจุดเด่นคือเรียนมาถึง 12 ปี มีประสบการณ์การผ่าตัดศัลยกรรม 10 ปีขึ้นไปทุกท่าน ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า แพทย์ที่โรงพยาบาลเลอลักษณ์มีความเชี่ยวชาญ สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาของคนไข้แต่ละคนได้อย่างถี่ถ้วนและตรงจุด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ของเรา

โรงพยาบาลมีห้องผ่าตัดที่ได้มาตรฐาน มีระบบกรองอากาศ ระบบฆ่าเชื้ออุปกรณ์ผ่าตัด (sterile) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมไปถึงมีเครื่องมือในการช่วยชีวิตครบถ้วนสำหรับในกรณีฉุกเฉิน และมีทีมแพทย์และพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งให้ความปลอดภัยสูงกว่าการทำศัลยกรรมในคลินิก

เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
  1. งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดอาหารประเภทกระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
  2. งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  3. ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
  5. การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้
  6. ควรมีผู้ดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด
  7. งดสูบบุหรี่ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
  1. คนไข้ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 2 คืน 
  2. สัปดาห์แรกควรพักผ่อนมากๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา โดยทั่วไป ในวันที่ 4 สามารถเดินหรือนั่งอย่างช้าๆ โดยอาจรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้างเล็กน้อย
  3. นอนคว่ำในสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ห้ามนอนหงายเพราะจะเป็นการกดทับถุงซิลิโคน
  4. หลังจากเปิดแผล ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
  5. เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3ระวังอย่าให้พลาสเตอร์เปียกน้ำ
  6. สัปดาห์ที่สองสามารถนั่งบนเบาะนิ่มๆ ได้
  7. หลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  8. อาการปวดบริเวณสะโพกอาจเกิดขึ้นได้ใน 1 – 3 เดือนแรก
  9. จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพกภายใน 6 – 8 เดือน
  10. ใส่กางเกงรัดไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กางเกงนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมตำแหน่งซิลิโคนไม่ให้เคลื่อนที่
Q&A

การเสริมสะโพก ต่างกับการเสริมก้นอย่างไร?

จริงๆแล้ว การเสริมสะโพก จะเสริมทั้งสะโพกและก้น แต่ขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้ ว่าขาดบริเวณไหนมากกว่า แพทย์จะทำการเลือกทรงซิลิโคน และวางตำแหน่งซิลิโคน เพื่อแก้ไขปัญหาของคนไข้แต่ละราย เช่น หากคนไข้มีปัญหาสะโพกบุ๋มมาก แต่พอมีก้นอยู่บ้าง แพทย์จะวางซิลิโคนเน้นเสริมช่วงสะโพก เพื่อให้ผายออกด้านข้าง แต่ก็จะได้เสริมบริเวณก้นให้นูนออกมาด้วนหลังด้วยเช่นกัน

หลังการเสริมสะโพก เวลานั่งจะรู้สึกลำบากไหม?

เวลานั่งจะไม่ได้นั่งทับซิลิโคน เนื่องจากตำแหน่งของซิลิโคนจะอยู่เหนือบริเวณที่นั่งทับ จึงไม่ได้รู้สึกถึงซิลิโคน 

ซิลิโคนสะโพกมีโอกาสขยับไหม?

แพทย์ที่มีประสบการณ์จะสร้างช่องสำหรับการใส่ซิลิโคนที่มีขนาดเล็กพอดี มีพื้นที่แคบ เมื่อใส่ถุงซิลิโคนเข้าไปจะฟิต ไม่มีที่ให้ขยับ ซิลิโคนจะไม่เคลื่อน แต่หากแพทย์ไม่มีประสบการณ์ อาจทำช่องใหญ่ ทำให้ซิลิโคนมีโอกาสเคลื่อนได้

การเสริมสะโพกนอกจากวิธีเสริมด้วยซิลิโคนแล้วยังมีวิธีใดอีกบ้าง?

การเสริมสะโพกมี 2 แบบคือ

  1. ผ่าตัดเสริมสะโพกด้วยการใช้ถุงซิลิโคน (Buttock Implants) ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัยและนิยมมากที่สุด
  2. เสริมสะโพกด้วยการฉีดไขมันตัวเอง (Fat graft) เป็นการเสริมสะโพกอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ศัลยแพทย์จะทำการดูดไขมันส่วนเกินจากส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น หน้าท้อง เอว หรือต้นขา จากนั้นจะฉีดไขมันเข้าไปที่สะโพก เพื่อเสริมสะโพกให้มีขนาดที่สวยงามมากยิ่งขึ้น 

 

แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือ ไขมันที่ฉีดเข้าไปบางส่วนจะสลายไป ขนาดของก้นหลังฉีดใหม่ๆ กับหลังผ่านไป 6 เดือนจะต่างกันมาก ต้องเติมไขมันซ้ำทุกๆ 6-12 เดือน อย่างน้อย 2-3 ครั้ง ก้นสองข้างอาจจะไม่เท่ากัน ไม่สามารถกำหนดได้ว่าข้างไหนไขมันจะสลายมากกว่ากัน และมีข้อจำกัดในเรื่องของปริมาณที่ฉีด อาจจะไม่ได้มากเท่าที่ต้องการ 

การฉีดสารอื่นๆ เช่น ฟิลเลอร์ คอลลาเจน ฯลฯ เพื่อเสริมสะโพกมีอันตรายหรือมีข้อเสียอย่างไร?

ถ้าฉีดด้วยฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน คอลลาเจน ซิลิโคนเหลว หรือน้ำมันมะกอก สารจะไม่สลาย จับตัวเป็นก้อน ทำให้ผิวเป็นคลื่น ไม่เรียบ ขรุขระ อีกทั้งยังไหลไปในตำแหน่งที่ไม่ต้องการได้ง่าย จึงทำให้สะโพกผิดรูปไม่ได้รูปทรงตามที่ต้องการ

ภาวะซิลิโคนแข็งหรือแตก เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?

หากการผ่าตัดไม่ดีพอ อาจเกิดจากการผ่าตัดที่เลือดออกเยอะ เกิดภาวะอักเสบตามมาได้ง่าย ทำให้เกิดพังผืดตามมา จึงทำให้เกิดสะโพกแข็งได้

หลังผ่าตัดเสริมสะโพกสามารถนั่งได้มั้ย? ต้องนอนคว่ำนานเท่าไร?

สามารถนั่งได้หลังจากผ่าตัดประมาณ 2 อาทิตย์ ควรนอนคว่ำเพื่อไม่ให้น้ำหนักไปกดทับถุงซิลิโคน เนื่องจาก 2 อาทิตย์แรก อัตราการแยกของแผลจะยังคงมีสูง การนอนคว่ำจะช่วยรักษารูปทรงของก้นให้สวยงาม และปลอดภัยกว่า

Testimonial
รีวิวศัลยกรรมเสริมก้น
FAQ คำถามที่พบบ่อย
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
Click edit button to change this text. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สนใจบริการ